[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.6
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
เว็บไซต์แผนกวิชา
อาชีวศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์

ภาพกิจกรรม
สถิติผู้เยี่ยมชม

  
ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด  
 

ชื่ออักษรไทย   เพชรบูรณ์
ชื่ออักษรโรมัน   Phetchabun
ชื่อไทยอื่นๆ   เพชบุระ
ผู้ว่าราชการ   นายกฤษณ์  คงเมือง
ISO 3166-2   TH-67
ต้นไม้ประจำจังหวัด   มะขาม
ดอกไม้ประจำจังหวัด   ดอกมะขาม

คำขวัญประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า
เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

ตราประจำจังหวัด

เพชร ภูเขาและไร่ยาสูบ


ธงประจำจังหวัด

พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้าง ประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วย เครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาว น้ำมันก๊าส มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบ สีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำ จังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. ตามเครื่องหมาย ประจำจังหวัดที่ประดิษฐ์อยู่ตรงกลาง ผืนธง มีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 66 ซ.ม. เทือกเขา เพชรบูรณ์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามว่า ภูเขาบันทัดและเขาปันน้ำยาสูบ พื้นเมือง เพชรบูรณ์ พระองค์ก็ได้ทรงรับรองว่า มีคุณภาพเป็นยอดเยี่ยมกว่ายาสูบที่อื่น ทั้งหมดทั่วเมืองไทย ซึ่งได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อ "นิทานโบราณคดี" นิทานที่ 10 เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์

ต้นไม้ประจำจังหวัด


ชื่อพันธุ์ไม้ มะขาม

ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า- แม่ฮ่องสอน),
อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “ มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน


ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ : ดอกมะขาม

ต้นมะขามโพรงตั้งอยู่ภายใน วัดศิลามงคล ริมแม่น้ำพุง ตำบลหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุกว่า 400 ปีมีขนาดเส้นรอบวงกว้างกว่า 8 เมตร ความสูงประมาณ 20 เมตร แผ่กิ่งก้านเป็นพุ่มรัศมี ประมาณ 15 ถึง 20 เมตรสวยงามแปลกตาด้วยมีลำต้นเป็นโพรงขนาดใหญ่คล้ายปากถ้ำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน จากคำบอกเล่าของคนในชุมชนมะขามต้นนี้น่าจะมีมาก่อนการสร้างวัดแต่เดิมลำต้นไม้ ไม่ได้กลวงขนาดนี้เป็นเพียงซอกหลืบขนาดเล็ก ต่อมามีงูขนาดใหญ่ 2 ตัวเลื้อยเข้าไปอาศัย ชาวบ้านเกรงว่าจะเป็นอันตราย แก่พระสงฆ์จึงจุดไฟเผาไล่งู จนทำให้ไฟไหม้เป็นโพรงกลวงกลางดังที่เห็น แต่ต้นไม่ตายและคนสามารถเข้าไปยืนอยู่ในโพรง ได้ถึง 5 คน ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของวัดศิลามงคล กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศหลักเกณฑ์ การยกย่องเชิดชูเกียรติคุณองค์กร และชุมชนโดยใช้มิติทางวัฒนธรรมในการสืบสานตำนานต้นไม้
ที่ตั้งและอาณาเขต 
จังหวัด เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย อยู่ระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเส้นรุ้งที่ ๑๖ องศาเหนือกับเส้นแวง ๑๐๑ องศาตะวันออก ส่วนกว้างวัดจาก ทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว ๕๕ กม. ส่วนยาววัดจากเหนือถึงใต้ยาว ๒๙๖ กม. มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๖๖๘.๔๑๖ ตารางกิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๑๔ เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๔๖ กม                     

จังหวัดเพชรบูรณ์มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดเลย
ทิศใต้
ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะ ภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นที่ลุ่มแบบท้องกะทะประกอบด้วยเนินเขา ป่าและที่ราบ เป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงใต้ ทางตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นที่ต่ำ มี แม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านกลางเมืองเพชรบูรณ์จากเหนือลงใต้ มีความยาวประมาณ ๓๕๐ กม.ต้นแม่น้ำมีถิ่นกำเนิดที่ภูเขาผาลาจังหวัดเลยและลำน้ำหลายแห่งรวมตัวกัน ไหลผ่านอำเภอหล่มเก่า อำเภอ หล่มสัก อำเภอเมือง อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ รวมทั้งจังหวัด ลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่อง จากสภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากในแต่ละฤดูกาล คือ อากาศจะร้อนมากในฤดูร้อน ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม หนาวจัดในฤดูหนาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ท้องที่อำเภอน้ำหนาวและอำเภอหล่มเก่าตอนล่าง ราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ในฤดูฝนมีฝนตกชุก ราว เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และมีน้ำป่าไหลหลากมาท่วมในที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนใต้ ของจังหวัด ในฤดูแล้งน้ำจะขาดแคลนไม่เพียงพอกับการเกษตรกรรม

ความชื้นสัมพัทธ์
ความ ชื้นสัมพัทธ์ของเพชรบูรณ์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำฝน ถ้าฝนตกมากก็จะมีความชื้น สัมพันธ์สูง ในเดือนกันยายนของทุก ๆ ปี มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด และความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดประมาณ ๘๓.๙๐ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี ๗๑.๖๐

ประชากร

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรทั้งสิ้น ๑,๐๓๖,๕๒๖ คน เป็นชาย ๕๑๙,๗๐๐ คน เป็นหญิง ๕๑๖,๘๒๖ คน (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓)

เขตการปกครอง

จังหวัด เพชรบูรณ์ แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ ๓ กิ่งอำเภอ ๑๑๗ ตำบล ๑,๓๐๑ หมู่บ้าน ๒๕๒,๒๓๕ หลังคาเรือน เทศบาล ๑๖ แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล ๑๑๑ แห่ง (ข้อมูลปี ๒๕๔๔)อำเภอต่างๆ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอเข้าค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอชนแดน อำเภอวังโป่ง อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ กิ่งอำเภอวังชมภู กิ่งอำเภอ พุเตย กิ่งอำเภอดงขุยและกิ่งอำเภอเมืองกลาง


สภาพเศรษฐกิจและสังคม


สภาพทางเศรษฐกิจ

จังหวัด เพชรบูรณ์โดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอาชีพและผลผลิตทางการเกษตรกรรม โดยมีการทำไร่ยาสูบ มากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมาได้แก่การทำสวนผลไม้ ที่ทำชื่อเสียงให้มากที่สุดคือ มะขามหวาน นอกจาก นี้มีการปลูกพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และมีอาชีพอื่น ๆ ที่สร้างรายได้ให้กับประชากรชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว การป่าไม้ การปศุสัตว์ การค้าขาย และการอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อ คนต่อปี ๒๘,๔๒๕ บาท (ข้อมูลปี ๒๕๔๐)

สภาพทางสังคม
จังหวัด เพชรบูรณ์ แบ่งลักษณะของประชากรออกเป็น ๒ ส่วน คือ ทางตอนเหนือของจังหวัด ประกอบ ด้วยอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่าและอำเภอน้ำหนาว ประชาชนส่วนใหญ่มีพื้นเพและหลักแหล่งอยู่ที่เดิมมา ก่อน จึงมีภาษาพูดท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมและประเพณี ตลอดจนความคิดเห็นที่คล้ายคลึงหรือกลมกลืนกัน ส่วนอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัด ประกอบด้วยอำเภอชนแดน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอ หนองไผ่ และอำเภอศรีเทพ มีประชากรอพยพมาจากจังหวัดอื่น ๆ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ โดยประมาณ ร้อยละ ๕๖ ดังนั้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจึงแตกต่างไปตามลักษณะ พื้นที่ กล่าวคือ ใน พื้นที่อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า มีประเพณีดั้งเดิมที่คล้ายกับภาคอีสาน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญแข่งเรือออกพรรษา ประเพณีสงกรานต์ ในตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ มีประเพณีเหมือนภาคเหนือ ภาคกลางทั่วไป ส่วนด้านใต้ของจังหวัดจะมีประเพณีที่ผสมผสานกัน เป็นไปตามวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่อพยพ เข้ามา

ภาษาถิ่น

จังหวัด เพชรบูรณ์ มีประชากรที่เป็นคนพื้นบ้านซึ่งพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างกันแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ยังมีประชากรที่อพยพจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยใช้ภาษาถิ่นเดิมของตน และชาวไทยภูเขาที่พูดภาษาของ เผ่าตน จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาถิ่นของเพชรบูรณ์มีความหลากหลาย ภาษาถิ่นที่ใช้กันในจังหวัด เพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้

๑. กลุ่มภาษาหล่ม เป็น ภาษาถิ่นที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว ประชากรในเขตพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมครั้งอพยพ มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาหล่มมีการใช้ศัพท์คล้ายกับภาษาไทยอิสาน แต่แตกต่างกันที่ สำเนียง ภาษาหล่มจะมีสำเนียงคล้ายกับภาษาลาวที่ใช้พูดในเมืองหลวงพระบาง ในตำบลต่าง ๆ ในแต่ละ อำเภอ สำเนียงพูดจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่ภาษาสื่อสารกันได้เพราะใช้ศัพท์ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันความ สะดวกทางการคมนาคมและการใช้ภาษาไทยถิ่นกลาง จึงทำให้ภาษาไทยถิ่นกลางปะปนกับภาษาหล่ม เช่น พูดสำเนียงภาษาหล่มโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยถิ่นภาคกลาง
๒. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ กลุ่ม ภาษานี้จะพูดกันในเขตอำเภอเมืองเป็นภาษาที่มีสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว คำศัพท์ที่ใช้มีทั้งภาษาถิ่นไทยกลาง และภาษาเพชรบูรณ์
๓. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ คือ ภาษาที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนใต้ซึ่งได้แก่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ ภาษาที่ใช้พูดจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ภาษาถิ่นไทยภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นคนท้องถิ่นเดิม และภาษาพูดอีกกลุ่มหนึ่งคือ ภาษาอิสาน ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อพยพมา จากจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอิสาน แต่ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ได้ทั้งสองกลุ่ม ภาษา
๔. กลุ่มภาษาถิ่นไทยกลาง เป็น ภาษาที่ใช้พูดทั่วไปในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะเพชรบูรณ์เป็นเมือง ที่มีประชากรมาจากหลายท้องที่อพยพเข้ามา จึงใช้ภาษาถิ่นไทยกลางในการสื่อสาร แต่การใช้ภาษาจะมี ศัพท์ภาษาเดิมผสมผสานกันบ้าง
๕. ภาษากลุ่มชาวบน ชาว บนเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของเพชรบูรณ์ สืบเชื้อสายมาจากละว้า มีภาษาพูด เป็นภาษาชาวบน ซึ่งคำศัพท์แตกต่างไปจากภาษากลุ่มอื่น ๆ ปัจจุบันประชากรเชื้อสายชาวบนเป็นชนกลุ่ม น้อย มีชุมชนอยู่ที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง และบ้านท่าด้วง อำเภอหนองไผ่
๖. ภาษากลุ่มชาวเขา ลักษณะ ภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์มีรูปร่างคล้าย กะทะ มีภูเขาล้อมรอบ ทุกด้าน จึงมีประชากรส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บนเขา ชาวเขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าม้งเป็น ส่วนใหญ่ และเผ่าอื่น ๆ เช่น ลีซอ เป็นต้น

สาธารณูปโภค

แหล่งน้ำ แหล่ง น้ำในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กที่เกิดจากการทำฝายกั้นน้ำ เช่น อ่าง เก็บน้ำชลประทานห้วยป่าแดง อยู่ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มีพื้นที่กักเก็บน้ำ ๑,๘๐๐ ไร่ กักเก็บน้ำได้ ๒๐.๗ ล้านลูกบาศก์เมตร มีแม่น้ำสำคัญ ๒ สาย คือ แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำพุง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากตอนบน ของจังหวัด ในฤดูฝนมีปัญหาการไหลหลากของน้ำทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากสภาพพังทลาย ของดินในบริเวณพื้นที่ลาดชัน ส่วนแหล่งน้ำชลประทานมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำทำให้เกิดภาวะน้ำไม่เพียงพอใน การเพาะปลูก

การประปา มีบริการการประปาในเขตอำเภอ และประปาตำบล ส่วนหมู่บ้านที่ยังไม่มีบริการประปา ประชาชนใช้น้ำบาดาล

การไฟฟ้า มีบริการทั่วถึงทุกตำบล

การคมนาคม ทาง บกมีทางหลวงแผ่นดินหลายสายสามารถติดต่อกับจังหวัดในภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางได้สะดวก เส้นทางเข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีดังนี้

๑. เส้นทางหลวง หมายเลข ๒๑ สระบุรี-หล่มสัก
๒. เส้นทางหลวง หมายเลข ๑๒ ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก
๓. ทางอากาศ รัฐบาลได้สนับสนุนให้สร้างสนามบินพาณิชย์ขึ้นในอำเภอหล่มสัก เพื่อรองรับการขยาย ตัวด้านเศรษฐกิจ การอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

บริการสาธารณสุข
บริการ ด้านสาธารณสุขก้าวหน้า มีโรงพยาบาลที่ทันสมัยในทุกอำเภอ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ปัญหาด้านการสาธารณสุขมีไม่มากนัก ในเขตตำบลต่าง ๆ มีโรงพยาบาลตำบลและสถานีอนามัยให้บริการ ประชาชนอย่างทั่วถึง

                                                                                      แหล่งที่มา http://www.phetchabun.go.th
-----------------