วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ สร้างหุ่นยนต์เตะตะกร้อเพื่อเข้าร่วมแข่งขัน 

หุ่นยนต์อาชีวศึกษา (DOVE ROBOCON 2002) 

    “ตะกร้อพิชิตบ่วงจักรวาล”  (TAKRAW SPACE CONQUEROR) 

ชิงชนะเลิศ 5 ภาค    ครั้งที่ 5     ระหว่างวันที่ 5-10 มกราคม 2546    ณ โรงยิมเทศบาลเมืองกระบี่  จ.กระบี่

Click Here...ชมภาพพิธีเปิด บรรยากาศการแข่งขัน และรางวัลที่ได้รับ


แนวคิดและการสร้าง

            จากอดีตถึงปัจจุบัน การสร้างหุ่นยนต์ให้เลียนแบบการกระทำของมนุษย์หรือสัตว์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น หุ่นยนต์ AZIMO ของ HONDA เป็นต้น   และในการสร้างหุ่นยนต์ที่จะนำลูกตะกร้อให้ลงห่วงได้ตามต้องการนั้น   มีหลายวิธี    เช่น   ใช้ระบบส่งลูกตะกร้อแบบใช้แรงเหวี่ยงแกนหมุน คล้ายกับเครื่องยิงลูกเทนนิส  หรือแบบที่ใช้การดีดของกระเดื่องแบบโบราณ หรือใช้หลักการของยางหนังสติ๊กยิงกระสุน และแบบเตะกระทบ

            ผู้จัดทำจึงเลือกสร้างหุ่นยนต์แบบเตะกระทบ ซึ่งได้สร้างกลไกให้คล้ายการเตะของมนุษย์มากที่สุด   และเพิ่มเทคโนโลยีการมองเป้าหมาย ด้วยกล้องวีดีโอ (Camera Eye)   ซึ่งปัจจุบันหาซื้อได้ทั่วไป และอุปกรณ์มีราคาถูกมาก

ผู้จัดทำ

1. นายสุวรรณ์ พลขันธ์                        ปวส. 1    ช่างกลโรงงาน

2. นายนพดล จันทร์คุ้ย                      ปวส. 1    ช่างกลโรงงาน

3. นายกิตติศักดิ์ เกตุแก้ว                  ปวส. 2    ช่างไฟฟ้ากำลัง

4. นายธีรวุฒิ การุญบริรักษ์                ปวส. 2    ช่างไฟฟ้ากำลัง

5. นายธเนตร แข็งเขต                      ปวส. 2    ช่างไฟฟ้ากำลัง

แก๊ก! ก้มๆ เงยๆ ประกอบโครงอลูมิเนียมเป็นหุ่นยนต์

อาจารย์ที่ปรึกษา

1. นายณรงค์ ดีวัน                    หัวหน้างานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่

2. นายสุทัศน์ เพชรป้อ             อาจารย์ประจำแผนก ช่างกลโรงงาน

3. นายสิทธิชัย จันทพิมพะ        อาจารย์ประจำแผนก ช่างไฟฟ้ากำลัง

4. นายบุญลอ ประสารศรี          อาจารย์ประจำแผนก ช่างไฟฟ้ากำลัง

อ.สุทัศน์ ควบคุมการติดตั้งมอเตอร์เกียร์และขาเตะ

การสร้างแผ่นวงจรพิมพ์

ประกอบวงจรภาคควบคุมมอเตอร์  สามารถควบคุมการกลับทางหมุนมอเตอร์ได้

ติดตั้งแบตเตอรี่แห้ง ขนาด 12 Volts, 7Ah  จำนวน  2  ก้อน

สปริง หัวใจของการเตะ

แผ่นวงจรควบคุมมอเตอร์  หนึ่งแผงต่อหนึ่งตัว

ประกอบเรียบร้อยแล้วครับ

          ออกแบบให้ลูกตะกร้ออยู่กับที่ ขณะที่ขาเตะถูกมอเตอร์           ดึงไปด้านหลัง แล้วปล่อยกลับด้วยแรงสปริง

ติดตั้งกล้องวีดีโอขนาดเล็กไว้บริเวณใต้ลูกตะกร้อเพื่อมองเป้าหมาย   ซึ่งมึชุดกลไกปรับระดับมุมก้ม-เงย ของทิศทางที่จะเตะออกไป

กล่องควบคุมหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ  มีทีวีเล็กสำหรับดูเป้าหมาย  เชื่อมต่อสัญญาณโดยสายชีลด์ 10 เส้น

 Click Here...ชมภาพพิธีเปิด บรรยากาศการแข่งขัน และรางวัลที่ได้รับ

...ขอขอบคุณ คณาจารย์ทุกท่านและนักเรียน นักศึกษาทุกคน ที่คอยช่วยแนะนำ ช่วยเหลือ และให้กำลังใจ.....

อ.สิทธิชัย  จันทพิมพะ  TEEMAM@HOTMAIL.COM

HOME